เมนู

บุคคลมีจิตหดหู่แล้ว ถีนมิทธะยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้นด้วย ถีนมิทธะที่
เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความยิ่งใหญ่ขึ้นด้วย.
[15] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุเป็นไปเพื่อ
ความยิ่งใหญ่ขึ้นแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดแล้วก็ลี เหมือนดัง
เจตโสอวูปสมะ (ความไม่เข้าไปสงบแห่งจิตด้วยสมถะและวิปัสสนา)
นี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีจิตไม่เข้าไปสงบแล้ว อุทธัจจกุก-
กุจจะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็น
ไปเพื่อความยิ่งใหญ่ขึ้นด้วย.
[16] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุเป็นไปเพื่อ
ความยิ่งใหญ่ขึ้นแห่งวิจิกิจฉาที่เกิดแล้วก็ดี เหมือนดังอโยนิโสมนสิการ
(ความทำในใจโดยไม่แยบคาย คือคิดไม่ถูกทาง) นี้เลย ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อบุคคลทำในใจโดยไม่แยบคาย วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด
ย่อมเกิดขึ้นด้วย วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความยิ่งใหญ่
ขึ้นด้วย.

ว่าด้วยเหตุไม่ให้นิวรณ์ 5 เกิดขึ้น



[17] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นเหตุไม่เกิดขึ้นแห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุเสื่อมหาย
ไปแห่งกามฉันทะที่เกิดแล้วก็ดี เหมือนดังอสุภนิมิต (นิมิตไม่งาม คือ

อสุภ 10 ) นี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลทำในใจโดยแยบคาย
ซึ่งอสุภนิมิต กามฉันทะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้นด้วย กามฉันทะ
ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมหายไปด้วย.
[18] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นเหตุไม่เกิดขึ้นแห่งพยาบาทที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุเสื่อมหาย
ไปแห่งพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วก็ดี เหมือนดังเมตตาเจโตวิมุตติ นี้เลย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลทำในใจโดยแยบคายซึ่งเมตตาเจโต-
วิมุตติอยู่ พยาบาทที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้นด้วย พยาบาทที่เกิดขึ้น
แล้วย่อมเสื่อมหายไปด้วย.
[19] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นเหตุไม่เกิดขึ้นแห่งถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุเสื่อมหาย
ไปแห่งถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วก็ดี เหมือนดังอารัมภธาตุ (ธาตุคือ
ความเพียรริเริ่ม) นิกกมธาตุ (ธาตุคือความเพียรพยายาม) ปรักกม-
ธาตุ (ธาตุคือความเพียรบากบั่น) นี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
บุคคลมีความเพียรอันเริ่มแล้ว ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้นด้วย
ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมหายไปด้วย.
[20] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นเหตุไม่เกิดขึ้นแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุ
เสื่อมหายไปแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วก็ดี เหมือนดังเจตโส-
วูปสมะ (ความเข้าไปสงบแห่งจิตด้วยสมถะและวิปัสสนา) นี้เลย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีจิตเข้าไปสงบแล้ว อุทธัจจกุกกุจจะ

ที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วย่อม
เสื่อมหายไปด้วย.
[21] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นเหตุไม่เกิดขึ้นแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุเสื่อมหาย
ไปแห่งวิจิกิจฉาที่เกิดแล้วก็ดี เหมือนดังความทำในใจโดยแยบคาย
นี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลทำในใจโดยแยบคายอยู่ วิจิกิจฉา
ที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้นด้วย วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมหาย
ไปด้วย.

จบ นีวรณปหานวรรคที่ 2

อรรถกถามีวรณปหานวรรคที่ 21



อรรถกถาสูตรที่ 1



วรรคที่ 2 สูตรที่ 1

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า เอกธมฺมํปิ นี้ พึงทราบธรรมด้วยอรรถว่า มิใช่สัตว์
เหมือนในคำมีอาทิว่า ก็ในสมัยนั้นแล ธรรมทั้งหลายย่อมมี. เพราะ
ฉะนั้นในบทว่า เอกธมฺมํปิ นี้ มีใจความดังนี้ว่า แม้สภาวะอันหนึ่ง
มิใช่สัตว์. ก็ วา ศัพท์ ในบทว่า อนุปฺปนฺโน วา นี้ มีสมุจจัยเป็นอรรถ
ไม่ใช่มีวิกัปเป็นอรรถ เหมือน วา ศัพท์ในประโยคอย่างนี้ว่า ภูตานํ
สตฺตานํ ฐิติยา สมฺภเวสีนํ วา อนุคฺคหาย ยาวตา ภิกฺขเว สตฺตา
อปทา วา ทฺวิปทา วา
เพื่อดำรงอยู่แห่งสัตว์ผู้เกิดแล้วด้วย เพื่อ
อนุเคราะห์พวกสัตว์สัมภเวสีด้วย. ภิกษุทั้งหลาย เหล่าสัตว์ไม่มีเท้า
และสัตว์ 2 เท้า มีประมาณเพียงใด ดังนี้. ก็ในข้อนี้มีใจความดังนี้ว่า
กามฉันท์ ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อไพบูลย์เจริญเต็มที่ด้วยธรรมใด เรามองไม่เห็นธรรมนั้นอย่างอื่น
เหมือนศุภนิมิตเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุปฺปนฺโน ความว่าไม่เกิด ไม่
เกิดพร้อม ไม่ปรากฏ ไม่เป็นไป. บทว่า กามฉนฺโท ได้แก่ กามฉันท-
นิวรณ์ ที่กล่าวไว้พิสดารแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ความพอใจในกาม
ความกำหนัดในกาม ความเพลิดเพลินในกาม ความอยากในกาม อันใด

1. วรรคที่ 2 นี้ บาลีมิได้แบ่งออกเป็นสูตร ๆ แต่อรรถกถาแบ่งไว้ 10 สูตร